จุดเริ่มต้นของพื้นผิวสัมผัสสำหรับนำทางผู้พิการทางสายตา มาจากที่ไหนกันนะ?

จุดเริ่มต้นของพื้นผิวสัมผัสสำหรับนำทางผู้พิการทางสายตา มาจากที่ไหนกันนะ?

จุดเริ่มต้นของพื้นผิวสัมผัสสำหรับนำทางผู้พิการทางสายตา มาจากที่ไหนกันนะ?

พื้นผิวสัมผัสสำหรับนำทางผู้พิการทางสายตา ได้ถูกออกแบบขึ้นโดยชาวญี่ปุ่นโดย Seiichi Miyake ซึ่งคิดขึ้นในปีค.ศ. 1965 และได้มีการปูเป็นครั้งแรกในโลกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1967 ที่หน้าโรงเรียนสอนคนตาบอด ที่ จ. Okayama ในชื่อเรียกวัสดุปูพื้นสำหรับคนพิการว่า warning block , braille block , tactile และวัสดุที่เป็นสัญลักษณ์นี้ ได้ถูกใช้แพร่หลายไปทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้ เพื่อใช้ติดตั้งอำนวยความสะดวกในเส้นทางสัญจรให้กับผู้พิการทางสายตา หรือสามารถใช้ในบริเวณทัศนวิสัยในการมองเห็นต่ำ  เพื่อช่วยลดอุปสรรคในการใช้ชีวิตให้ทุกคนมีสิทธิ หน้าที่ สามารถมีโอกาสอย่างเท่าเทียม ในการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกันกับบุคคลทั่วไปได้อย่างสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น  (ข้อมูลบางส่วนจาก Facebook : “ความรู้รอบตัว” และ ข้อมูลจากเอกสาร “การออกแบบสถานที่เพื่อคนทุกคน” รองศาสตราจารย์ กุสุมา ธรรมธำรง )

blank

ชนิดวัสดุ ผิว และสีวัสดุ ให้สอดคล้องกลมกลืนกับพื้นที่ และการออกแบบ เพื่อความสวยงาม ในขณะที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตาได้เป็นอย่างดี   ที่ญี่ปุ่นตามท้องถนนหรือที่สถานีรถไฟ เราจะเห็นกระเบื้องปูพื้นนำทางคนตาบอดอยู่ทั่วไปเป็นเรื่องปรกติค่ะ ที่เมืองไทยเราก็มีปูอยู่ตามถนนหรือบนสถานีรถไฟฟ้าบ้างเหมือนกัน เราเคยได้สังเกตุกันไหม กระเบื้องปูพื้นแบบนี้ เรียกว่า 点字ブロック ( てんじブロック / tenji burokku) หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า tactile paving หรือ braille block เป็นกระเบื้องที่มีลักษณะเป็นจุด ๆ แบบอักษรเบรลล์ ปรกติจะมีอยู่สองแบบคือ

คือแบบที่เป็นจุดกลม ๆ มีความหมายว่าให้หยุด เช่นข้างหน้าทางม้าลาย บันได เป็นต้น สำหรับสัญลักณ์ที่มี ลักษณะเป็นลายเส้นตรง มีความหมายว่าให้ตรงไป

โดยทั่วไปจะเป็นสีเหลืองสด อาจจะสงสัยกันว่า ทำไมต้องเป็นสีเหลืองด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าสีเหลืองเป็นสีที่สามารถเห็นได้ชัดเจนที่สุดค่ะ ผู้พิการทางสายตาที่พอจะมองเห็นบ้าง แต่เห็นไม่ชัด ก็จะสามารถมองเห็นได้ง่าย
1 แบบปุ่มๆกลม คนตาบอด จะใช้ไม้ท้าวขาวก็คือไม้เท้าที่นำทางคนตาบอดนั้นเอง โดยการใช้ไม้ท้าวขาวกวาดไปรอบๆเมื่อสัมผัสโดนปุ่มเล็กๆ คนตาบอดจะรู้ทันที่ว่าพื้นที่ตรงนั้นควรหยุดเดิน เนื่องจากอาจเป็นที่ลาดชัน หรือเป็นทางต่างระดับ ไม่ควรเดินต่อไป

2.แบบเป็นปุ่มแนวยาว คนตาบอดจะใช้ไม้ท้าวขาวก็คือไม้เท้าที่นำทางคนตาบอดนั้นเอง โดยการใช้ไม้ท้าวขาวกวาดไปรอบๆเมื่อสัมผัสโดนปุ่มที่เป็นแนวยาว คนตาบอดจะรู้ทันที่ว่าพื้นที่สามารถเดินต่อไปได้ ซึ่ง การปูพื้นต้องปูทางยาวของกระเบื้องให้เป็นแนวตั้ง เพราะถ้าปูแนวนอนคนตาบอดก็จะเดินออกขวาหรือซ้าย ทำให้คนตาบอดหลงทาง

ข้อมูลจาก stdtiles.com ,fenntarkoon

เลือกซื้อสินค้าวัสดุก่อสร้างกับเรา Beelieve Sourcing มาร์เก็ตเพลสวัสดุก่อสร้างรายแรกของไทย เรามีทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง และ บริการต่างๆ รวมถึงรถขนส่ง หรือ ช่างผู้รับเหมา ทั่วประเทศไทย  facebook: beelievesourcing line: @beelievesourcing youtube: beelieveus beelievesourcing เราสร้างตลาดสินค้าออนไลน์และ บริการครบจบในที่เดียว

Admin_pup Admin_pup
We will be happy to hear your thoughts

Leave a reply

บีลีฟซอร์สซิ่ง ตลาดกลางค้าวัสดุก่อสร้าง บ้าน อาคาร
Logo